Monday, July 17, 2017

โครงการที่ได้รับอนุมัติ

กล่องข้อความ: อนุมัติเมื่อ ๔ กรกฎาคม ๒๕๖๐โครงการพัฒนากลไกสนับสนุนเครือข่ายจิตอาสาประชารัฐจังหวัด
เสริมสร้างสังคมสุขภาวะ พ.ศ. ๒๕๖๐
จังหวัดมุกดาหาร

 

๑. หลักการ
           ๑.๑ สถานการณ์ทั่วไปภาพรวม
สังคมสุขภาวะ หมายถึง สังคมที่สามารถอยู่รอดและมีความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันได้ ซึ่งมัก
ประกอบด้วยคุณลักษณะ ๓ ประการ ได้แก่ สังคมที่ไม่ทอดทิ้งกัน เป็นสังคมที่เข้มแข็ง และเป็นสังคมคุณธรรม ซึ่งทุกสังคมย่อมมีองค์ประกอบของประชากรที่หลากหลาย ทั้งกลุ่มประชากรที่เข้มแข็งและประชากรที่ยากลำบากในสังคมสุขภาวะ จึงต้องมีค่านิยมของการให้ การเสียสละ การช่วยเหลือเกื้อกูลและเอื้ออาทรกัน เป็นค่านิยมแบบจิตอาสา ที่ผู้ที่เข้มแข้งกว่าจะยื่นมือไปช่วยเหลือผู้ที่อ่อนแอและยากลำบาก เพื่อให้ผ่านพ้นความเดือดร้อนเฉพาะหน้า และสามารถฟื้นฟูสมรรถภาพสู่ความเข้มแข็งและพึ่งตนเองได้ในระยะยาว
                   สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(สช.) เป็นหน่วยงานรัฐที่เข้าร่วมขับเคลื่อนสานพลังประชารัฐของรัฐบาล ทั้งในเรื่องเศรษฐกิจฐานรากและด้านประชารัฐเพื่อสังคม จึงได้เล็งเห็นว่างานจิตอาสาในแนวทางรวมพลังที่เรียกว่า “เป็นประชา-รัฐ” เช่นนี้เป็นรูปธรรมที่ดีที่สุดในการเชื่อมโยงนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาสังคมสู่ประเทศไทย ๔.๐ เพราะสามารถสะท้อนทั้งคุณลักษณะของสังคมที่ไม่ทอดทิ้งกัน สังคมเข้มแข็ง และสังคมคุณธรรมไปพร้อมกัน ทั้งยังสามารถเชื่อมโยงการทำงานระหว่างภาคีส่วนต่างๆ ทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจ ภาคประชาสังคม และภาควิชาการ วิชาชีพในระดับต่างๆ  และประการที่สำคัญคือ กลไกสนับสนุนเครือข่ายจิตอาสาประชารัฐระดับจังหวัดที่จะเกิดขึ้นในโครงการนี้ จะกลายเป็นโครงสร้างพื้นฐานทางสังคมที่สำคัญ (social infrastructure) สำหรับการจัดการปัญหาและพัฒนาชุมชนท้องถิ่น รวมทั้งพื้นที่ทุกภูมิภาคแบบมีส่วนร่วม อันจะนำไปสานพลังสร้างสังคมสุขภาวะขึ้นต่อไปในอนาคต จึงเห็นควรที่จะดำเนินโครงการพัฒนากลไกสนับสนุนเครือข่ายจิตอาสาประชารัฐจังหวัด เสริมสร้างสังคมสุขภาวะ จังหวัดมุกดาหารต่อไป
          ๑.๒ สถานการณ์ของจังหวัด
               ๑.๒.๑ บริบททั่วไป
          ในสมัยพระเจ้าตากสินมหาราช ได้พระราชทานบรรดาศักดิ์ ให้เจ้ากินรีเป็นพระยาจันทรศรีสุราช
อุปราชามัณฑาตุราช ดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองคนแรกของเมืองมุกดาหาร เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๒๑

          เดิมเมืองมุกดาหารมีฐานะเป็นเมืองขึ้นการปกครองกับมณฑลอุดร ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๐ มีการปรับปรุงการปกครองมณฑลอุดรเป็นจังหวัด และเมืองมุกดาหารจึงถูกยุบเป็นอำเภอเมืองมุกดาหาร ขึ้นการปกครองกับจังหวัดนครพนม จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๕๒๕ รัฐบาลได้ออกพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดมุกดาหารขึ้นเป็นจังหวัดที่ ๗๓ ของประเทศไทย และเป็นจังหวัดที่ ๑๗ ของภาคอีสาน จังหวัดมุกดาหารเป็นประตูด่านสำคัญสู่กลุ่มประเทศอินโดจีน มีความสัมพันธ์ฉันท์บ้านพี่น้องกับแขวงสวันเขต สปป.ลาว มาช้านาน โดยมีแม่น้ำโขงซึ่งมีความยาวถึง ๗๐ กิโลเมตร เป็นเส้นกั้นพรมแดน และมีความโดดเด่นในด้านชนเผ่าพื้นเมืองต่างๆที่มีถึง ๘ เผ่าได้แก่ เผ่าไทยอีสาน ภูไท ไทยข่า กระโซ่ ไทยย้อ ไทยแสกและไทยกุลา และยังมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สวยงาม มุกดาหารมีพื้นที่ประมาณ ๔,๓๓๙,๘๓๐ ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น ) อำเภอ คือ อำเภอเมืองมุกดาหาร อำเภอคำชะอี อำเภอดอนตาล อำเภอนิคมคำสร้อย อำเภอดงหลวง อำเภอหว้านใหญ่ และอำเภอหนองสูง

          ที่ตั้ง - จังหวัดมุกดาหาร เป็นจังหวัดชายแดน ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีแม่น้ำโขงเป็นเส้นกั้นพรมแดน จังหวัดมุกดาหาร ตั้งอยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ ๑๖-๑๗ องศาเหนือ และเส้นแวงที่ ๑๐๔-๑๐๕ องศาตะวันออก มีพื้นที่ทั้งหมด ๔,๓๓๙.๘๓ ตารางกิโลเมตร หรือ ๒,๗๑๒,๓๙๔ ไร่ อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครโดยทางรถยนต์ประมาณ ๖๔๒ กิโลเมตร

     ๑.๒.๒ จิตอาสา
ภาคประชาสังคมจังหัดมุกดาหาร มีการรวมตัวเพื่อทำกิจกรรมร่วมกันเพื่อการพัฒนาชุมชนมาอย่างต่อเมื่อยาวนาน ทั้งการรวมเพื่อที่ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานราชการ และการรวมตัวของประชาชนเอง ในลักษณะของจิตอาสา ทำให้การพัฒนาชุมชน ดำเนินการจนเกิดเป็นเครือข่ายการพัฒนาของประชาชนมุกดาหาร ภายใต้ “เครือข่ายเมืองสามธรรม” ในปัจจุบัน เพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาจังหวัดมุกดาหารโดยภาคประชาชนอย่างเป็นรูปธรรมที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

               ๑.๒.๓ ผู้ยากลำบากและกลุ่มเปราะบาง
          ปัญหายาเสพติดในจังหวัดมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหารเป็นจังหวัดชายแดนที่มีแม่น้ำโขงเป็นเส้นกั้นเขตแดนกับประเทศ เพื่อนบ้าน มีความยาวถึง ๗๒ กิโลเมตร จึงเอื้อต่อการลักลอบน้าเข้ายาเสพติดเข้ามาในราชอาณาจักรได้ในทุกจุด ยาเสพติดที่มีการลักลอบ น้าเข้าที่สำคัญมี ๒ ประเภท คือ ยาบ้า และกัญชา โดยกลุ่มผู้ค้าจะใช้เรือเป็นพาหนะลำเลียงเข้ามาตามช่องทาง หมู่บ้านของ ๓ อำเภอชายแดน คือ อำเภอเมืองมุกดาหาร อำเภอดอนตาล และอำเภอหว้านใหญ่ การลักลอบนำเข้า ยาเสพติดจะซุกซ่อนในร่างกาย และยานพาหนะเข้ามา ณ จุดผ่านแดนถาวร และลักลอบส่งต่อไปยังพื้นที่ตอนในและ จังหวัดข้างเคียง การแพร่ระบาดยาเสพติดในพื้นที่จังหวัดมุกดาหารพบว่ายาเสพติดที่มีการแพร่ระบาดได้แก่ ยาบ้า กัญชา และสารระเหย โดยพื้นที่แพร่ระบาดที่สำคัญ คือพื้นที่ อำเภอเมืองมุกดาหาร และอำเภอดอนตาล และมีการ ลักลอบปลูกกัญชาในพื้นที่อำเภอดงหลวง ซึ่งมีการปลูกซ้ำซาก สถานการณ์การลักลอบนำเข้ายาเสพติด
          สถานการณ์การลักลอบนำเข้ายาเสพติดของจังหวัดมุกดาหาร มีการลักลอบนำเข้าอย่างต่อเนื่อง บุคคลที่ เกี่ยวข้องนี้ ประกอบด้วย กลุ่มนายทุนซึ่งเป็นคนไทย จะให้ชาวไทยหรือชาวลาวรับจ้างขนเข้ามา ในลักษณะลักลอบ นำเข้าทางเรือเล็กในช่วงเวลากลางคืน หรือรถโดยสารและซุกซ่อนมาตามร่างกาย รองเท้า ยานพาหนะ อวัยวะภายใน ร่างกาย ชนิดยาเสพติดที่พบคือ ยาบ้า กัญชาแห้ง กัญชาสด ยาไอซ์
          สถานการณ์การค้าและแพร่ระบาดยาเสพติด ยังมีการแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่อง และยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากในพื้นที่มีเครือข่ายของนักค้ารายใหญ่ และรายย่อยที่เพิ่มขึ้น ส่วนมากการค้ายาเสพติดจะลักลอบน้าเข้าจากประเทศเพื่อนบ้าน โดยชาวไทยหรือชาวลาวเป็น ผู้รับจ้างขนยาเสพติดเข้ามาเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้มีผู้เสพรายใหม่ในพื้นที่เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในหมู่บ้าน ชุมชนที่ อยู่ในอำเภอชายแดน ผู้เสพรายเก่าที่ยังไม่ได้เข้าสู่กระบวนการบำบัดรักษาหรือบำบัดรักษาแล้วแต่กลับมาเสพยาอีก รวมทั้งการขยายตัวอย่างรวดเร็วของกลุ่มผู้เสพที่เป็นกลุ่มเยาวชน พื้นที่ ที่มีการค้ายาเสพติดคือพื้นที่ อำเภอเมือง อำเภอดอนตาล อำเภอคำชะอี อำเภอนิคมค้าสร้อย อำเภอดงหลวง กลุ่มที่มีความเสี่ยงคือกลุ่มผู้ที่ประกอบอาชีพ เกษตรกรรม รับจ้างทั่วไป ผู้ใช้แรงงาน นักเรียน นักศึกษา ทั้งนอกและในสถานศึกษา และผู้ที่ทำงานกลางคืน

          ปัญหาแรงงานต่างด้าว สืบเนื่องจาก สปป.ลาว ยังมีขีดความสามารถในการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและการศึกษาเพื่อรองรับการขยายตัว ของประชากรภายในประเทศค่อนข้างจำกัด ทำให้ประชากรบางส่วนมุ่งที่จะหาโอกาสที่ดีกว่า โดยเคลื่อนย้ายเข้ามาขาย แรงงานในจังหวัดมุกดาหารหรือใช้จังหวัดมุกดาหารเป็นต้นทางผ่านไปจังหวัดใกล้เคียง ปริมณฑลและกรุงเทพมหานคร ซึ่งแรงงานต่างด้าวเหล่านี้ส่วนมากจะเป็นแรงงานไร้ฝีมือและจะมีการเข้ามาทั้งอย่างถูกต้องตามกฎหมายและผิด กฎหมาย จากข้อมูลแรงงานต่างด้าวที่ขออนุญาตทำงานอย่างถูกต้องตามกฎหมายของสำนักงานจัดหางานจังหวัด มุกดาหาร พบว่าแรงงานต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทำงาน สำรวจ ณ เดือนกรกฎาคม ๒๕๕๖ รวมทั้งสิ้น ๗๔๖ คน เป็น แรงงานน้าเข้าตาม MOU สัญชาติลาว จำนวน ๓๙ คน แรงงานที่ได้รับการพิสูจน์สัญชาติ ๑๓๓ คน (ลาว ๑๑๒ คน และพม่า ๒๑ คน) แรงงานรอการพิสูจน์สัญชาติ ๕๐๒ คน (ลาว ๔๘๙ คน พม่า ๑๒ คน และกัมพูชา ๑ คน) และ แรงงานประเภททักษะฝีมือและส่งเสริมการลงทุนรวมทั้งชนกลุ่มน้อย จำนวน ๗๒ คน
          ปัญหาการค้ามนุษย์ การค้ามนุษย์ในจังหวัดมุกดาหาร เป็นลักษณะกลุ่มนายทุนหรือผู้ที่เคยเข้ามาใช้แรงงาน เป็นผู้ชักชวนพวกที่ไม่มี งานทำ การศึกษาน้อย ว่างงานในฤดูเก็บเกี่ยว ใน สปป.ลาว เข้ามาแสวงหาโอกาสและรายได้ในประเทศไทย โดยผู้ชักชวน จะอำนวยความสะดวกในการเดินทาง หาที่พักและหางานให้ทำกลุ่มคนเหล่านี้จะแฝงเข้ามาในรูปแบบของนักท่องเที่ยว โดยใช้พาสปอร์ต ใช้เวลาอยู่ในประเทศ ๓๐ วัน เมื่อากนั้ครบกำหนดก็จะต่ออายุพาสปอร์ตเพื่อขออนุญาตอยู่ในประเทศไทย ต่อบางส่วนเข้ามาลักลอบค้าประเวณี โดยแอบแฝงในรูปของการประกอบอาชีพ เช่น นวดแผนโบราณ เด็กเสิร์ฟ ร้านอาหาร ร้านคาราโอเกะ หรือ
คาเฟ่ เป็นต้น

               ๑.๒.๔ พิบัติภัย
          จังหวัดมุกดาหาร โดยสภาพทั่วไปที่มีทั้งพื้นที่ที่เป็นภูเขา และมีแหล่งน้ำสำคัญ การเกิดภัยพิบัติมีเช่นเดียวกับพื้นที่ของจังหวัดอื่นๆ โดยเฉพาะน้ำท่วม ดินโคลนถล่ม โดยเฉพาะพื้นที่ในเขตอำเภอ
คำชะอี และอำเภอดงหลวง ที่นับว่ามีความรุนแรงมากกว่าอำเภออื่นๆ นอกจากนั้น ภัยพิบัติที่ประชาชนได้รับอยู่เป็นประจำ ได้แก่ วาตภัย ที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่อาคารบ้านเรือนเป็นประจำในแต่ละฤดูกาล และภัยพิบัติอีประการหนึ่ง ที่ก่อให้เกิดความทุกข์ยากแก่ประชาชนอยู่ทุกฤดูกาล ได้แก่ภัยหนาว สำหนับประชาชนที่มีฐานะยากจน อาศัยอยู่บริเวณภูเขาและป่าไม้

               ๑.๒.๕ ประชารัฐ เพื่อสังคม
          จังหวัดมุกดาหาร ได้ดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลในการจัดตั้ง บริษัทรักสามัคคี จำกัด ขึ้น โดยมีเป้าหมายในการระดมทุนเพื่อทำกิจการ ประมาณ ๔ ล้านบาท โดยระดมทุนจากทุกภาพส่วน และได้กำหนดทิศทางในการดำเนินการโดยการทำการสำรวจ วิเคราะห์ศักยภาพของกลุ่มอาชีพ ตัวผลิตภัณฑ์ที่มีความเป็นไปได้ทางเศรษฐกิจ ผลิตภัณฑ์สำคัญได้แก้ ผ้าทอมือ ถั่วลิสง และการกิจกรรมการท่องเที่ยวโดยชุมชน


๒. วัตถุประสงค์ทั่วไป
     เพื่อพัฒนากลไกสนับสนุนเครือข่ายจิตอาสาประชารัฐในระดับจังหวัด เสริมสร้างสังคมสุขภาวะแบบและอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน
    วัตถุประสงค์เฉพาะ
               ๒.๑ เพื่อประสานเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของผู้มีจิตอาสาในจังหวัดมุกดาหาร
                ๒.๒ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงาน “ เครือข่ายจิตอาสาประชารัฐจังหวัดมุกดาหาร”
                ๒.๓ เพื่อสำรวจค้นหากลุ่มประชากรที่อยู่ในภาวะยากลำบากและกลุ่มเปราะบาง ในจังหวัดมุกดาหาร พร้อมให้การช่วยเหลือเบื้องต้นอย่างเหมาะสม
                ๒.๔ เพื่อจัดทำแผนที่ภูมิศาสตร์และระบบเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงต่อพิบัติภัยธรรมชาติที่สำคัญที่มีปัญหาซ้ำซากใน จังหวัดมุกดาหาร
                ๒.๕ เพื่อพัฒนาระบบและกลไก “กองทุนประชารัฐเพื่อสังคมของจังหวัด”

๓. เป้าหมาย
๓.๑ มีพลเมืองจิตอาสาในพื้นที่  ๗ อำเภอ จังหวัดมุกดาหาร
๓.๒ มีศูนย์จิตอาสาประชารัฐระดับจังหวัด ๑ ศูนย์
๓.๓ มีเครือข่ายจิตอาสาประชารัฐในระดับจังหวัด ไม่น้อยกว่า ๗ เครือข่าย
๓.๔ มีฐานข้อมูลประชาชนที่อยู่ในภาวะยากลำบากและกลุ่มเปราะบาง และได้รับการช่วยเหลือ
เบื้องต้นอย่างเหมาะสม ไม่น้อยกว่า ๑ ระบบ
๓.๕ มีแผนที่ภูมิศาสตร์พื้นที่เสี่ยงภัยซ้ำซากอย่างน้อย  ๓  พื้นที่ พร้อมระบบเฝ้าระวัง และ
แผนปฏิบัติการรับมือแก้ปัญหาแบบพึ่งตนเอง
๓.๖ มี “กองทุนประชารัฐเพื่อสังคม” ของจังหวัด ๑ กองทุน

๔. วิธีการดำเนินงาน  
๔.๑ ยกระดับ ศปจ.ทุกจังหวัดเป็นศูนย์ประสานงานเครือขายจิตอาสาประชารัฐจังหวัด
๔.๒ ถักทอเครือข่ายจิตอาสาประชารัฐครอบคลุมทุกอำเภอ
๔.๓ สำรวจและดูแลผู้ยากลำบากและกลุ่มเปราะบางในชุมชนทุกอำเภอทั้งจังหวัดและจัดทำแผนในการช่วยเหลือ
               ๔.๔ ทำแผนที่จุดเสี่ยงพิบัติภัยธรรมชาติระดับอำเภอและมีแผนเฝ้าระวัง
      ๔.๕ จัดตั้งกองทุนจิตอาสาประชารัฐจังหวัด เพื่อพึ่งตนเองในระยะยาว

หน้า2/4 
 
     ๔.๖ สรุปรายงานผลการดำเนินงาน



  3/4 
 
๕. แผนการดำเนินงาน  ๔ เดือน
   รายละเอียด
งบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐

มิถุนายน
กรกฎาคม
สิงหาคม
กันยายน
๑. ประชุมองค์กรภาคีที่ทำงานด้านจิตอาสา
 ๑.๑ จัดตั้ง “คกก.สนับสนุนเครือข่ายจิตอาสาประชารัฐเพื่อสังคมจังหวัด”
 ๑.๒ ประสานความร่วมมือท้องถิ่นในการสนับสนุน ศปจ.เป็น
”ศูนย์จิตอาสาประชารัฐเพื่อสังคมจังหวัด”

           /

           /



๒. ถักทอเครือข่ายจิตอาสาประชารัฐ
๒.๑ สำรวจฐานข้อมูลพลเมืองจิตอาสา
๒.๒ จัดกิจกรรมรณรงค์เพื่อค้นหาคนทำงานจิตอาสาในระดับอำเภอละจังหวัด
๒.๓ พัฒนาศักยภาพแกนนำระดับอำเภอ ๕-๑๐ ทีม



/
/

/


๓. สำรวจและดูแลผู้ยากลำบาก และการพัฒนาระบบเฝ้าระวังพิบัติภัยชุมชน
๓.๑ สำรวจและจัดทำข้อมูลผู้ยากลำบากในชุมชนและพื้นที่เสี่ยงต่อพิบัติ
๓.๒ จัดทำแผนปฏิบัติการและประสานความร่วมมือ


      /
     
      /

      /

๔. จัดตั้ง “กองทุนประชารัฐเพื่อสังคมจังหวัด


      /
        
๕. สรุปผลการดำเนินงานและรายงานผล



/


๖. พื้นที่ดำเนินการ      ๗  อำเภอ  จังหวัดมุกดาหาร

๗. ระยะเวลาดำเนินงาน   ๔ เดือน (วันที่ ๑๗ มิถุนายน – ๓๐ กันยายน  ๒๕๖๐)

๘. งบประมาณ    
          จำนวนเงิน  ๑,๑๘๑,๐๐๐  บาท  (หนึ่งล้านหนึ่งแสนแปดหมื่นหนึ่งพันบาทถ้วน)

๙. ผลที่คาดว่าจะได้รับ  
๙.๑ มีเครือข่ายพลเมืองจิตอาสาเข้ารวมปฏิบัติการเพื่อสังคมในพื้นที่ระดับอำเภอ
๙.๒ มี “กองทุนประชารัฐเพื่อสังคม” ของจังหวัด
๙.๓ ประชาชนผู้อยู่ในภาวะยากลำบากไม่น้อยกว่าร้อยละ ๕๐ ของผู้ยากลำบากในฐานข้อมูลที่
สำรวจ ได้รับการช่วยเหลือเบื้องต้นอย่างเหมาะสม
๙.๔ มีแผนปฏิบัติการรับมือแก้ปัญหาแบบพึ่งตนเองในพื้นที่เสี่ยงพิบัติภัยธรรมชาติซ้ำซาก

๑๐. ผู้รับผิดชอบ    
๑๐.๑  ชื่อองค์กรรับข้อตกลง :   หอการค้าจังหวัดมุกดาหาร
๑๐.๒  ชื่อผู้รับข้อตกลง :  นายสุริยะ  พิศิษฐอรรถการ
๑๐.๓  ศูนย์จิตอาสาประชารัฐเพื่อสังคมจังหวัดมุกดาหาร                    
          ๑๐.๔  ผู้ประสานงาน :  นายวิรัตน์  พรหมดี  โทรศัพท์ ๐๘๑-๓๙๑๒๘๔๕

๑๑. สถานที่ติดต่อ :      ศูนย์จิตอาสาประชารัฐเพื่อสังคมจังหวัดมุกดาหาร
                   ที่อยู่ วิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร เลขที่ ๑๙๙ บ้านบุ่งอุทัย หมู่ที่ ๑๐ ตำบลนาสีนวน อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร
                   ตู้ ปณ. ๓๓
                   Facebook. www.facebookcom/muknetwork



















   กรอบงบประมาณที่ใช้ในการดำเนินงานโครงการ / กิจกรรม

ลำดับ
กิจกรรม
รายละเอียดงบประมาณ
(บาท)
หมวดดำเนินงาน

๑.๑ กิจกรรมสนับสนุนเครือข่ายจิตอาสาประชารัฐเพื่อสังคมจังหวัด
๑) ประชุมเตรียมการดำเนินงานในระดับจังหวัดและจัดตั้ง”คณะกรรมการสนับสนุนเครือข่ายจิตอาสาประชารัฐเพื่อสังคมจังหวัด ๑ ครั้ง


- ค่าอาหาร อาหารว่าง และเครื่องดื่ม ๑ วัน
คนละ ๓๐๐ บาทx ๓๐ คน = ๙,๐๐๐ บาท
- ค่าเดินทางผู้เข้าร่วมเวที(โดยประมาณ)
คนละ๕๐๐บาท X ๓๐ คน  = ๑๕,๐๐๐ บาท
- ค่าห้องประชุม ๓,๐๐๐ บาท


๒๗,๐๐๐


               
รวม (๑.๑)
๒๗,๐๐๐
๑.๒ กิจกรรมพัฒนาศักยภาพเครือข่ายจิตอาสาประชารัฐระดับอำเภอ

๑) สำรวจและจัดทำฐานข้อมูลองค์กร/พลเมืองจิตอาสาระดับอำเภอ


- ค่าตอบแทนในการสำรวจและทำฐานข้อมูลองค์กร/พลเมืองจิตอาสาระดับอำเภอ  ๗  อำเภอละ ๑๐,๐๐๐. บาท ๗๐,๐๐๐ บาท


๒) จัดกิจกรรมเสริมพลังพลเมืองจิตอาสา


- ค่าดำเนินกิจกรรมเสริมพลังพลเมืองจิตอาสา
 ๗  อำเภอละ ๓๐,๐๐๐.บาท ๒๑๐,๐๐๐  บาท


๓) พัฒนาศักยภาพแกนนำระดับอำเภอ ๑ ครั้ง


- ค่าดำเนินกิจกรรมระดับอำเภอ
 ๗ อำเภอ x ๑๐คน X ๒,๐๐๐.บาท ๑๔๐,๐๐๐ บาท

รวม(๑.๒)
๔๒๐,๐๐๐
๑.๓ กิจกรรมช่วยเหลือกลุ่มประชาชนในภาวะยากลำบากและกลุ่มเปราะบางในชุมชนท้องถิ่น
๑)           สำรวจและจัดทำฐานข้อมูลกลุ่มประชาชนในภาวะยากลำบาก

- ค่าตอบแทนในการสำรวจและทำฐานข้อมูล  อำเภอละ ๑๐,๐๐๐ บาท จำนวน ๗ อำเภอ     ๗๐,๐๐๐   บาท

๗๐,๐๐๐  

๒) จัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อช่วยเหลือกลุ่มประชาชนในภาวะยากลำบากอย่างเหมาะสม ๑ ครั้ง


- ค่าอาหาร อาหารว่าง และเครื่องดื่ม ๑ วัน คนละ ๓๐๐ บาท X   ๑๕ คน X๗ อำเภอ  ๓๑,๕๐๐ บาท 
- ค่าเดินทางผู้เข้าร่วมเวที (โดยประมาณ)  
คนละ ๓๐๐ บาท X   ๑๕ คน X๗ อำเภอ  ๓๑,๕๐๐ บาท 
- ค่าตอบแทน ๓๐๐ บาท X ๑๕ คน X ๗ อำเภอ = ๑๓,๕๐๐ บาท
๙๔,๕๐๐
รวม (๑.๓)
๑๖๔,๕๐๐
๑.๔ กิจกรรมขับเคลื่อนระบบเฝ้าระวังพิบัติภัยชุมชนตามสภาพปัญหาของพื้นที่
๑) สำรวจและจัดทำฐานข้อมูลภูมิศาสตร์ “พื้นที่เสี่ยงต่อพิบัติภัยธรรมชาติที่สำคัญของชุมชน”  ๓ อำเภอ


- ค่าตอบแทนในการสำรวจและทำฐานข้อมูล  ๓  อำเภอละ ๑๐,๐๐๐ บาท  ๓๐,๐๐๐  บาท
๓๐,๐๐๐  

๒) จัดทำแผนปฏิบัติการระบบกลไกเฝ้าระวังการแจ้งเตือนระดับอำเภอ


-ค่าอาหาร อาหารว่างและเครื่องดื่ม ๑ วัน
คนละ ๓๐๐บาท x ๑๕ คน X ๓ อำเภอ = ๑๓,๕๐๐ บาท
- ค่าเดินทางผู้เข้าร่วมเวที(โดยประมาณ)
คนละ ๓๐๐บาทX ๑๕ คนX ๓ อำเภอ = ๑๓,๕๐๐ บาท
- ค่าตอบแทน ๓๐๐ บาท X ๑๕ คนX ๓ อำเภอ = ๑๓,๕๐๐   บาท
๓) ค่าดำเนินการสนับสนุนกิจกรรมในพื้นที่พิบัติภัย
จำนวน ๓ อำเภอ x ๔๖,๕๐๐ บาท =๑๓๙,๕๐๐ บาท




๔๐,๕๐๐





๑๓๙,๕๐๐
รวม (๑.๔)
๒๑๐,๐๐๐
๑.๕ กิจกรรมสนับสนุนการดำเนินงาน “กองทุนประชารัฐเพื่อสังคมจังหวัด”

๑) จัดประชุมองค์กรภาคีที่ทำงานด้านจิตอาสาในพื้นที่เพื่อก่อตั้ง“กองทุนประชารัฐเพื่อสังคมจังหวัด”





๒) ค่าดำเนินกิจกรรมประชุม  จังหวัดละ ๒๐,๐๐๐. บาท
๒๐,๐๐๐

๓) จัดกิจกรรมระดมทุนหลากหลายรูปแบบ


- ค่าดำเนินกิจกรรม
 จังหวัดละ ๕๐,๐๐๐. บาท(จัดกิจกรรมเพื่อระดมทุน)
๕๐,๐๐๐

๔) จัดประชุมคณะกรรมการกองทุน
๒๐,๐๐๐

- ๑  ครั้ง ๒๐,๐๐๐ บาท

รวม (๑.๕)
๙๐,๐๐๐
๑.๖ สื่อสารสังคมและจัดการความรู้


๑) ประชุมชี้แจงสื่อมวลชนในจังหวัด๑ ครั้ง

-ค่าดำเนินกิจกรรมประชุม
  จังหวัดละ ๒๕,๐๐๐. บาท
๒๕,๐๐๐

๒)การผลิตสื่อในจังหวัด


-  สนับสนุนการผลิตสื่อในจังหวัด
  จังหวัดละ ๒๕,๐๐๐  บาท
๒๕,๐๐๐

๓) จัดการความรู้


- ค่าถอดบทเรียนและจัดทำชุดความรู้ ๑ ชุด
จังหวัดละ ๓๐,๐๐๐ บาท
๓๐,๐๐๐
รวม (๑.๖)
๘๐,๐๐๐
๒. หมวดค่าตอบแทน   (ต้องเสียภาษี/ปี)


ค่าตอบแทนระดับจังหวัด
 ผู้จัดการ จังหวัดละ ๑๕,๐๐๐. บาท X ๔ เดือน
 ผู้ช่วย จังหวัดละ ๑๐,๐๐๐. บาท X ๔ เดือน
 ธุรการ จังหวัดละ ๘,๐๐๐ บาท X ๓ เดือน ๑๕ วัน


๖๐,๐๐๐
๔๐,๐๐๐
๒๘,๐๐๐
รวม(๒)
๑๒๘,๐๐๐
๓. หมวดบริหารจัดการ
- ค่าบริหารจัดการ (ค่าวัสดุสำนักงาน ค่าประสานงาน  และอื่นๆ)
ค่าตรวจสอบบัญชี

๖๑,๕๐๐
รวม(๓)
๖๑,๕๐๐
 รวมทั้งหมด
๑,๑๘๑,๐๐๐

*** หมวดดำเนินการสามารถถัวเฉลี่ยได้

โครงการที่ได้รับอนุมัติ

โครงการพัฒนากลไกสนับสนุนเครือข่ายจิตอาสาประชารัฐจังหวัด เสริมสร้างสังคมสุขภาวะ พ.ศ. ๒๕๖๐ จังหวัดมุกดาหาร   ...