Saturday, July 15, 2017

ความเป็นมาโครงการ

โครงการพัฒนากลไกสนับสนุนเครือข่ายจิตอาสาประชารัฐจังหวัด
เสริมสร้างสังคมสุขภาวะ พ.ศ. ๒๕๖๐

จังหวัดมุกดาหาร
...........................................
๑. หลักการ
           ๑.๑ สถานการณ์ทั่วไปภาพรวม
สังคมสุขภาวะ หมายถึง สังคมที่สามารถอยู่รอดและมีความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันได้ ซึ่งมัก
ประกอบด้วยคุณลักษณะ ๓ ประการ ได้แก่ สังคมที่ไม่ทอดทิ้งกัน เป็นสังคมที่เข้มแข็ง และเป็นสังคมคุณธรรม ซึ่งทุกสังคมย่อมมีองค์ประกอบของประชากรที่หลากหลาย ทั้งกลุ่มประชากรที่เข้มแข็งและประชากรที่ยากลำบากในสังคมสุขภาวะ จึงต้องมีค่านิยมของการให้ การเสียสละ การช่วยเหลือเกื้อกูลและเอื้ออาทรกัน เป็นค่านิยมแบบจิตอาสา ที่ผู้ที่เข้มแข้งกว่าจะยื่นมือไปช่วยเหลือผู้ที่อ่อนแอและยากลำบาก เพื่อให้ผ่านพ้นความเดือดร้อนเฉพาะหน้า และสามารถฟื้นฟูสมรรถภาพสู่ความเข้มแข็งและพึ่งตนเองได้ในระยะยาว
                   สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(สช.) เป็นหน่วยงานรัฐที่เข้าร่วมขับเคลื่อนสานพลังประชารัฐของรัฐบาล ทั้งในเรื่องเศรษฐกิจฐานรากและด้านประชารัฐเพื่อสังคม จึงได้เล็งเห็นว่างานจิตอาสาในแนวทางรวมพลังที่เรียกว่า “เป็นประชา-รัฐ” เช่นนี้เป็นรูปธรรมที่ดีที่สุดในการเชื่อมโยงนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาสังคมสู่ประเทศไทย ๔.๐ เพราะสามารถสะท้อนทั้งคุณลักษณะของสังคมที่ไม่ทอดทิ้งกัน สังคมเข้มแข็ง และสังคมคุณธรรมไปพร้อมกัน ทั้งยังสามารถเชื่อมโยงการทำงานระหว่างภาคีส่วนต่างๆ ทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจ ภาคประชาสังคม และภาควิชาการ วิชาชีพในระดับต่างๆ  และประการที่สำคัญคือ กลไกสนับสนุนเครือข่ายจิตอาสาประชารัฐระดับจังหวัดที่จะเกิดขึ้นในโครงการนี้ จะกลายเป็นโครงสร้างพื้นฐานทางสังคมที่สำคัญ (social infrastructure) สำหรับการจัดการปัญหาและพัฒนาชุมชนท้องถิ่น รวมทั้งพื้นที่ทุกภูมิภาคแบบมีส่วนร่วม อันจะนำไปสานพลังสร้างสังคมสุขภาวะขึ้นต่อไปในอนาคต จึงเห็นควรที่จะดำเนินโครงการพัฒนากลไกสนับสนุนเครือข่ายจิตอาสาประชารัฐจังหวัด เสริมสร้างสังคมสุขภาวะ จังหวัดมุกดาหารต่อไป
          ๑.๒ สถานการณ์ของจังหวัด
               ๑.๒.๑ บริบททั่วไป
          ในสมัยพระเจ้าตากสินมหาราช ได้พระราชทานบรรดาศักดิ์ ให้เจ้ากินรีเป็นพระยาจันทรศรีสุราช
อุปราชามัณฑาตุราช ดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองคนแรกของเมืองมุกดาหาร เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๒๑

          เดิมเมืองมุกดาหารมีฐานะเป็นเมืองขึ้นการปกครองกับมณฑลอุดร ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๐ มีการปรับปรุงการปกครองมณฑลอุดรเป็นจังหวัด และเมืองมุกดาหารจึงถูกยุบเป็นอำเภอเมืองมุกดาหาร ขึ้นการปกครองกับจังหวัดนครพนม จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๕๒๕ รัฐบาลได้ออกพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดมุกดาหารขึ้นเป็นจังหวัดที่ ๗๓ ของประเทศไทย และเป็นจังหวัดที่ ๑๗ ของภาคอีสาน จังหวัดมุกดาหารเป็นประตูด่านสำคัญสู่กลุ่มประเทศอินโดจีน มี

ความสัมพันธ์ฉันท์บ้านพี่น้องกับแขวงสวันเขต สปป.ลาว มาช้านาน โดยมีแม่น้ำโขงซึ่งมีความยาวถึง ๗๐ กิโลเมตร เป็นเส้นกั้นพรมแดน และมีความโดดเด่นในด้านชนเผ่าพื้นเมืองต่างๆที่มีถึง ๘ เผ่าได้แก่ เผ่าไทยอีสาน ภูไท ไทยข่า กระโซ่ ไทยย้อ ไทยแสกและไทยกุลา และยังมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สวยงาม มุกดาหารมีพื้นที่ประมาณ ๔,๓๓๙,๘๓๐ ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น ) อำเภอ คือ อำเภอเมืองมุกดาหาร อำเภอคำชะอี อำเภอดอนตาล อำเภอนิคมคำสร้อย อำเภอดงหลวง อำเภอหว้านใหญ่ และอำเภอหนองสูง
          ที่ตั้ง - จังหวัดมุกดาหาร เป็นจังหวัดชายแดน ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีแม่น้ำโขงเป็นเส้นกั้นพรมแดน จังหวัดมุกดาหาร ตั้งอยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ ๑๖-๑๗ องศาเหนือ และเส้นแวงที่ ๑๐๔-๑๐๕ องศาตะวันออก มีพื้นที่ทั้งหมด ๔,๓๓๙.๘๓ ตารางกิโลเมตร หรือ ๒,๗๑๒,๓๙๔ ไร่ อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครโดยทางรถยนต์ประมาณ ๖๔๒ กิโลเมตร

          อาณาเขต - จังหวัดมุกดาหาร เป็นจังหวัดที่ ๗๓ ของประเทศไทยและจังหวัดที่ ๑๗ ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียง ดังนี้
          ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอนาแก อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม และอำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร

          ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ อำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด
          ทิศตะวันออก ติดต่อกับแขวงสะหวันนะเขต ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
          ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขาวง อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ และอำเภอเมยวดี จังหวัดร้อยเอ็ด

         
สภาพภูมิกาศ/สภาพภูมิประเทศ โดยทั่วไปของจังหวัดมุกดาหารมีสภาพคล้ายคลึงกับจังหวัดต่างๆในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือ ฤดูร้อนอากาศจะร้อนจัด และฤดูหนาวอากาศจะหนาวจัด โดยแบ่งออกได้เป็น 3 ฤดูกาล ดังนี้
         
(๑) ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ - กลางเดือน พฤษภาคม มีความแปรปรวนของกระแสอากาศสูง อุณหภูมิสูง แดดกล้า อากาศแห้งแล้ง มีพายุฤดูร้อน
         
(๒) ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม - กลางเดือนตุลาคม มักมีฝนตกทิ้งช่วงในตอนปลายฤดู จะได้รับอิทธิพลจากพายุโซนร้อนในทะเลจีนใต้ ปริมาณน้ำฝนประมาณปีละ 1,400-1,500 มิลลิเมตร
         
(๓) ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่กลางเดือนตุลาคม - กลางเดือนกุมภาพันธ์ ช่วงนี้จะมีมวลอากาศหนาวเย็นจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุม และมีมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือปกคลุม ทำให้มีอากาศหนาวเย็น
          ในปี 2545 เดือนเมษายน อุณหภูมิสูงสุด 39.2 องศาเซลเซียส เดือนที่มีอุณหภูมิต่ำสุด คือเดือนมกราคม 13.7 องศาเซลเซียส

  



          การประกอบอาชีพและรายได้ จังหวัดมุกดาหารมีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด ๖๕,๔๒๖ ครัวเรือน และจากข้อมูล จปฐ. ปี ๒๕๕๔ จังหวัด มุกดาหารมีครัวเรือนที่อยู่นอกเขตเทศบาล จำนวน ๕๙,๐๕๒ ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ ๙๐.๒๕ ของครัวเรือนทั้ง จังหวัด มีครัวเรือนที่มีรายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปี ต่ำกว่า ๒๓,๐๐๐ บาท มีจ้านวน ๕๗๙ ครัวเรือน จากจำนวนครัวเรือน ทั้งหมดและจำแนกการประกอบอาชีพได้ ดังนี้ อาชีพทำนา จำนวน ๔๙,๖๕๓ ครัวเรือน อาชีพทำไร่ จำนวน ๒,๓๕๒ ครัวเรือน อาชีพทำสวน จำนวน ๗๗๕ ครัวเรือน อาชีพรับจ้าง จำนวน ๕,๗๖๕ ครัวเรือน อาชีพรับราชการ จำนวน ๒,๖๗๕ ครัวเรือน อาชีพพนักงานรัฐวิสาหกิจ จำนวน ๒๑๕ ครัวเรือน อาชีพพนักงานบริษัท จำนวน ๒๑๐ ครัวเรือน อาชีพธุรกิจส่วนตัว จำนวน ๕๘๐ ครัวเรือน

          ผลิตภัณฑ์ที่มีชื่อเสียงของจังหวัด จังหวัดมุกดาหารได้ส่งเสริมการสนับสนุนการพัฒนาท้องถิ่นสร้างชุมชนให้เข้มแข็งสามารถพึ่งตนเองได้ เพื่อ สร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้กับชุมชน โดยการนำทรัพยากรและภูมิปัญญาท้องถิ่นมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มี รูปแบบ คุณภาพ จุดเด่น เป็นที่ต้องการของตลาด ทั้งภายในและต่างประเทศ โดยดำเนินการโครงการหนึ่งตำบล หนึ่ง ผลิตภัณฑ์ (OTOP) ที่มีชื่อเสียงของจังหวัด แยกรายอำเภอได้ ดังนี้

          อ.เมืองมุกดาหาร ได้แก่ ตะกร้าหวาย ไม้ไผ่หวาย และผ้าพันคอย้อมสีธรรมชาติ
          อ.คำชะอี ได้แก่ เสื้อเย็บมือ        
          อ.หนองสูง ได้แก่ ผ้าหมักโคลน
          อ.หว้านใหญ่ ได้แก่ ตะกร้าพลาสติกลายสอง
          อ.ดอนตาล ผ้าฝ้ายย้อมคราม

          อ.นิคมคำสร้อย ตะกร้าพลาสติก
          อ.ดงหลวง ผลิตภัณฑ์จักสานไม้ไผ

          การคมนาคมขนส่งและการสื่อสาร การคมนาคม (ทางบก) เส้นทางคมนาคมในเขตจังหวัดมุกดาหาร แบ่งเป็นสายทางตามหน่วยงานรับผิดชอบ ดังนี้ ๑) เส้นทางที่อยู่ในเขตความรับผิดชอบของกรมทางหลวง ได้แก่ ทางหลวงหมายเลข ๑๒, ๒๑๒, ๒๐๓๔, ๒๑๐๔, ๒๒๗๗, ๒๒๘๗, ๒๒๙๒, ๒๓๓๙ และ ๒๓๗๐ รวมระยะทาง ทั้งสิ้น ๔๑๙.๘๖๖ กิโลเมตร ๒) เส้นทางที่อยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานทางหลวงชนบทจังหวัดมุกดาหาร ถ่ายโอนภารกิจ ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในปี ๒๕๔๖ จำนวน ๗๐ สาย ปี ๒๕๔๗ จำนวน ๓๓ สาย รวมระยะทาง ทั้งสิ้น ๔๐๑.๗๖ กิโลเมตร และยังมีโครงข่ายทางหลวงชนบท ที่อยู่ในความรับผิดชอบ จำนวน ๑๓ สาย ระยะทาง รวมทั้งสิ้น ๒๕๔.๐๓๒ กิโลเมตร ซึ่งในปีงบประมาณ ๒๕๕๕ มีการปรับปรุงเพิ่มเติมถนนโครงข่ายทาง หลวงชนบท เพิ่มเป็น ๒๖ สายทาง ระยะทางรวมทั้งสิ้น ๔๘๐.๙๔๘ กิโลเมตร ๓) เส้นทางที่อยู่ในความรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนจังหวัดมุกดาหาร ได้แก่ ถนนคอนกรีต เสริมเหล็ก จำนวน ๔๐ สาย ถนนลาดยาง จำนวน ๔๘ สาย และถนนลูกรัง จำนวน ๘๓ สาย รวมระยะทางทั้งสิ้น ๖๗๗.๐๕๒ กิโลเมตร
 
          การศึกษา จังหวัดมุกดาหารมีสถานศึกษา จำนวน ๓๑๓ แห่ง จำแนกตามสังกัดออกเป็น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร ๒๔๖ แห่ง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๒๒ (มุกดาหาร) ๓๐ แห่ง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการบริหารการศึกษาเอกชน ๑๐ แห่ง สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ๒ แห่ง สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ๘ แห่ง สังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ๑ แห่ง สังกัดสำนักงาน คณะกรรมการอุดมศึกษา ๘ แห่ง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ๓ แห่ง สังกัดสำนักงาน พระพุทธศาสนาแห่งชาติ ๒ แห่ง สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ๓ แห่ง มีนักเรียน/นักศึกษาตั้งแต่ระดับการศึกษา ขั้นพื้นฐานจนถึงระดับปริญญาตรี อัตราเฉลี่ยนักเรียนต่อครูเท่ากับ ๑๙:๑

          ศิลปวัฒนธรรมและประเพณี ประชาชนจังหวัดมุกดาหาร ยึดมั่นและสืบทอดประเพณีวัฒนธรรมอย่างเหนียวแน่นและต่อเนื่อง ใจดี กิริยามารยาท อ่อนน้อมถ่อมตน และเอื้อเฟื้อ ซึ่งกันและกัน ซึ่งจากหลักฐานที่ได้รวบรวมไว้มีปรากฏถึง ๘ ชนเผ่า อัน ได้แก่ ชาวผู้ไท ชาวไทยญ้อ ชาวไทยข่า ชาวไทยโซ่ ชาวไทยกะเลิง ชาวไทยแสก ชาวไทยกุลา และชาวไทยอีสาน ชาวมุกดาหารส่วนใหญ่ นับถือศาสนาพุทธ มีขนบธรรมเนียมประเพณีที่สำคัญ และยังคงถือปฏิบัติสืบต่อกัน มา คือ ฮีตสิบสอง คองสิบสี่และยังคงมีวัฒนธรรม ประเพณีของชนเผ่าที่ควรอนุรักษ์ ฟื้นฟู และยังคงมีอยู่ในปัจจุบัน เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว คือ ประเพณีปิดบ้าน ประเพณีส่วงเฮือ ประเพณีแห่กัณฑ์หลอน พิธีกรรมโซ่ถั่งบั้ง พิธีเหยา พิธีบายศรีสู่ขวัญ การรำเต้ยหัวดอนตาล การรำวงผู้ไท การลำผญา เป็นต้น งานประเพณีที่สำคัญของจังหวัดมุกดาหาร ได้แก่ งานประเพณีแข่งเรือออกพรรษา(ประเพณีส่วงเฮือ) ระหว่าง จังหวัดมุกดาหารกับแขวงสะหวันนะเขต จัดขึ้นในวันขึ้น ๑๓ - ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ของทุกปี และงานสำคัญอีกงานหนึ่ง ก็คืองานกาชาดและงานประจำปีจังหวัดมุกดาหาร จัดขึ้นเป็นประจำในช่วงเดือนมกราคมของทุกปี

          การสาธารณสุข จังหวัดมุกดาหาร มีจำนวนสถานบริการทางด้านสาธารณสุขของรัฐ / เอกชน ทั้งสิ้น ๘๖ แห่ง แยกเป็น โรงพยาบาลของรัฐ ๗ แห่ง โรงพยาบาลเอกชน ๑ แห่ง และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ๗๘ แห่ง(สถานีอนามัยเดิม) จำนวนบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข จำแนกได้ดังนี้ แพทย์ ๔๒ คน ทันตแพทย์ ๒๐คน เภสัชกร ๒๖ คน พยาบาล(วิชาชีพ , เทคนิค) ๔๕๗ คน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ๒๘๖ คน (นักวิชาการ,จพ.สาธารณสุข,จพ.ทันต สาธารณสุขฯลฯ) และมีจ้านวนเตียงผู้ป่วยทุกโรงพยาบาล รวม ๖๐๐ เตียง อัตราส่วนประชากร ๘,๐๕๖ ต่อ แพทย์ ๑ คน (๔๒) ,อัตราส่วนประชากร ๑๖,๙๑๘ ต่อ ทันตแพทย์ ๑ คน (๒๐) , อัตราส่วนประชากร ๑๓,๐๑๔ ต่อ เภสัชกร ๑ คน (๒๖) ,อัตราส่วนประชากร ๗๔๐ ต่อ พยาบาล ๑ คน (๔๕๗) และ อัตราส่วนประชากร ๑,๑๘๓ ต่อ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ๑ คน (๒๘๖) อัตราการเปลี่ยนแปลงของประชากรจังหวัดมุกดาหาร แบ่งเป็น อัตราเกิด ๑๐.๖๑ ต่อประชากรพันคน , อัตราตาย ๖.๑๘ ต่อประชากรพันคน และมีอัตราการเพิ่มประชากร ร้อยละ ๐.๔๔

          สภาพเศรษฐกิจจังหวัดมุกดาหาร ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดมุกดาหาร (GPP ) ปี ๒๕๕๓ มีมูลค่าเท่ากับ ๑๖,๙๙๙ ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว ๑,๘๔๙ ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ ๑๒.๒๐ เป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของมูลค่าการผลิตทั้งภาคการเกษตร และภาคนอกการเกษตร ทั้งนี้มูลค่าผลิตภัณฑ์จังหวัดต่อหัว (GPP per capita) ปี ๒๕๕๒ เท่ากับ ๔๙,๔๑๖ บาทต่อคนต่อปี โครงสร้างเศรษฐกิจจังหวัดมุกดาหาร ปี ๒๕๕๓ ขึ้นอยู่กับกิจกรรมการผลิต ๕ สาขาที่สำคัญ คือ สาขา เกษตรกรรม มีมูลค่า ๑,๓๑๕ ล้านบาท สาขาขายส่ง ขายปลีกฯ มูลค่า ๑,๑๗๓ ล้านบาท สาขาการศึกษา มูลค่า ๗๐๔ ล้านบาท สาขาอุตสาหกรรม มูลค่า ๕๙๖ ล้านบาท และสาขาขนส่ง มูลค่า ๔๘๑ ล้านบาท โดยคิดเป็น สัดส่วนร้อยละ ๒๐.๔๙, ๑๘.๒๗, ๑๐.๙๗, ๙.๒๘ และ ๗.๕๐ ตามลำดับ ทั้งนี้ปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ จังหวัด คือ ภาคเกษตรกรรม โดยมีพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ คือ ข้าว มันสำปะหลัง อ้อย และยางพารา รองลงมาเป็น กิจกรรมด้านการค้า (การขายส่ง และขายปลีก)




     ๑.๒.๒ จิตอาสา
ภาคประชาสังคมจังหัดมุกดาหาร มีการรวมตัวเพื่อทำกิจกรรมร่วมกันเพื่อการพัฒนาชุมชนมาอย่างต่อเมื่อยาวนาน ทั้งการรวมเพื่อที่ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานราชการ และการรวมตัวของประชาชนเอง ในลักษณะของจิตอาสา ทำให้การพัฒนาชุมชน ดำเนินการจนเกิดเป็นเครือข่ายการพัฒนาของประชาชนมุกดาหาร ภายใต้ “เครือข่ายเมืองสามธรรม” ในปัจจุบัน เพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาจังหวัดมุกดาหารโดยภาคประชาชนอย่างเป็นรูปธรรมที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

               ๑.๒.๓ ผู้ยากลำบากและกลุ่มเปราะบาง
          ปัญหายาเสพติดในจังหวัดมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหารเป็นจังหวัดชายแดนที่มีแม่น้ำโขงเป็นเส้นกั้นเขตแดนกับประเทศ เพื่อนบ้าน มีความยาวถึง ๗๒ กิโลเมตร จึงเอื้อต่อการลักลอบน้าเข้ายาเสพติดเข้ามาในราชอาณาจักรได้ในทุกจุด ยาเสพติดที่มีการลักลอบ น้าเข้าที่สำคัญมี ๒ ประเภท คือ ยาบ้า และกัญชา โดยกลุ่มผู้ค้าจะใช้เรือเป็นพาหนะลำเลียงเข้ามาตามช่องทาง หมู่บ้านของ ๓ อำเภอชายแดน คือ อำเภอเมืองมุกดาหาร อำเภอดอนตาล และอำเภอหว้านใหญ่ การลักลอบนำเข้า ยาเสพติดจะซุกซ่อนในร่างกาย และยานพาหนะเข้ามา ณ จุดผ่านแดนถาวร และลักลอบส่งต่อไปยังพื้นที่ตอนในและ จังหวัดข้างเคียง การแพร่ระบาดยาเสพติดในพื้นที่จังหวัดมุกดาหารพบว่ายาเสพติดที่มีการแพร่ระบาดได้แก่ ยาบ้า กัญชา และสารระเหย โดยพื้นที่แพร่ระบาดที่สำคัญ คือพื้นที่ อำเภอเมืองมุกดาหาร และอำเภอดอนตาล และมีการ ลักลอบปลูกกัญชาในพื้นที่อำเภอดงหลวง ซึ่งมีการปลูกซ้ำซาก สถานการณ์การลักลอบนำเข้ายาเสพติด
          สถานการณ์การลักลอบนำเข้ายาเสพติดของจังหวัดมุกดาหาร มีการลักลอบนำเข้าอย่างต่อเนื่อง บุคคลที่ เกี่ยวข้องนี้ ประกอบด้วย กลุ่มนายทุนซึ่งเป็นคนไทย จะให้ชาวไทยหรือชาวลาวรับจ้างขนเข้ามา ในลักษณะลักลอบ นำเข้าทางเรือเล็กในช่วงเวลากลางคืน หรือรถโดยสารและซุกซ่อนมาตามร่างกาย รองเท้า ยานพาหนะ อวัยวะภายใน ร่างกาย ชนิดยาเสพติดที่พบคือ ยาบ้า กัญชาแห้ง กัญชาสด ยาไอซ์
          สถานการณ์การค้าและแพร่ระบาดยาเสพติด ยังมีการแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่อง และยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากในพื้นที่มีเครือข่ายของนักค้ารายใหญ่ และรายย่อยที่เพิ่มขึ้น ส่วนมากการค้ายาเสพติดจะลักลอบน้าเข้าจากประเทศเพื่อนบ้าน โดยชาวไทยหรือชาวลาวเป็น ผู้รับจ้างขนยาเสพติดเข้ามาเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้มีผู้เสพรายใหม่ในพื้นที่เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในหมู่บ้าน ชุมชนที่ อยู่ในอำเภอชายแดน ผู้เสพรายเก่าที่ยังไม่ได้เข้าสู่กระบวนการบำบัดรักษาหรือบำบัดรักษาแล้วแต่กลับมาเสพยาอีก รวมทั้งการขยายตัวอย่างรวดเร็วของกลุ่มผู้เสพที่เป็นกลุ่มเยาวชน พื้นที่ ที่มีการค้ายาเสพติดคือพื้นที่ อำเภอเมือง อำเภอดอนตาล อำเภอคำชะอี อำเภอนิคมค้าสร้อย อำเภอดงหลวง กลุ่มที่มีความเสี่ยงคือกลุ่มผู้ที่ประกอบอาชีพ เกษตรกรรม รับจ้างทั่วไป ผู้ใช้แรงงาน นักเรียน นักศึกษา ทั้งนอกและในสถานศึกษา และผู้ที่ทำงานกลางคืน

          ปัญหาแรงงานต่างด้าว สืบเนื่องจาก สปป.ลาว ยังมีขีดความสามารถในการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและการศึกษาเพื่อรองรับการขยายตัว ของประชากรภายในประเทศค่อนข้างจำกัด ทำให้ประชากรบางส่วนมุ่งที่จะหาโอกาสที่ดีกว่า โดยเคลื่อนย้ายเข้ามาขาย แรงงานในจังหวัดมุกดาหารหรือใช้จังหวัดมุกดาหารเป็นต้นทางผ่านไปจังหวัดใกล้เคียง ปริมณฑลและกรุงเทพมหานคร ซึ่งแรงงานต่างด้าวเหล่านี้ส่วนมากจะเป็นแรงงานไร้ฝีมือและจะมีการเข้ามาทั้งอย่างถูกต้องตามกฎหมายและผิด กฎหมาย จากข้อมูลแรงงานต่างด้าวที่ขออนุญาตทำงานอย่างถูกต้องตามกฎหมายของสำนักงานจัดหางานจังหวัด มุกดาหาร พบว่าแรงงานต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทำงาน สำรวจ ณ เดือนกรกฎาคม ๒๕๕๖ รวมทั้งสิ้น ๗๔๖ คน เป็น แรงงานน้าเข้าตาม MOU สัญชาติลาว จำนวน ๓๙ คน แรงงานที่ได้รับการพิสูจน์สัญชาติ ๑๓๓ คน (ลาว ๑๑๒ คน และพม่า ๒๑ คน) แรงงานรอการพิสูจน์สัญชาติ ๕๐๒ คน (ลาว ๔๘๙ คน พม่า ๑๒ คน และกัมพูชา ๑ คน) และ แรงงานประเภททักษะฝีมือและส่งเสริมการลงทุนรวมทั้งชนกลุ่มน้อย จำนวน ๗๒ คน
          ปัญหาการค้ามนุษย์ การค้ามนุษย์ในจังหวัดมุกดาหาร เป็นลักษณะกลุ่มนายทุนหรือผู้ที่เคยเข้ามาใช้แรงงาน เป็นผู้ชักชวนพวกที่ไม่มี งานทำ การศึกษาน้อย ว่างงานในฤดูเก็บเกี่ยว ใน สปป.ลาว เข้ามาแสวงหาโอกาสและรายได้ในประเทศไทย โดยผู้ชักชวน จะอำนวยความสะดวกในการเดินทาง หาที่พักและหางานให้ทำกลุ่มคนเหล่านี้จะแฝงเข้ามาในรูปแบบของนักท่องเที่ยว โดยใช้พาสปอร์ต ใช้เวลาอยู่ในประเทศ ๓๐ วัน เมื่อากนั้ครบกำหนดก็จะต่ออายุพาสปอร์ตเพื่อขออนุญาตอยู่ในประเทศไทย ต่อบางส่วนเข้ามาลักลอบค้าประเวณี โดยแอบแฝงในรูปของการประกอบอาชีพ เช่น นวดแผนโบราณ เด็กเสิร์ฟ ร้านอาหาร ร้านคาราโอเกะ หรือ
คาเฟ่ เป็นต้น

               ๑.๒.๔ พิบัติภัย
          จังหวัดมุกดาหาร โดยสภาพทั่วไปที่มีทั้งพื้นที่ที่เป็นภูเขา และมีแหล่งน้ำสำคัญ การเกิดภัยพิบัติมีเช่นเดียวกับพื้นที่ของจังหวัดอื่นๆ โดยเฉพาะน้ำท่วม ดินโคลนถล่ม โดยเฉพาะพื้นที่ในเขตอำเภอ
คำชะอี และอำเภอดงหลวง ที่นับว่ามีความรุนแรงมากกว่าอำเภออื่นๆ นอกจากนั้น ภัยพิบัติที่ประชาชนได้รับอยู่เป็นประจำ ได้แก่ วาตภัย ที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่อาคารบ้านเรือนเป็นประจำในแต่ละฤดูกาล และภัยพิบัติอีประการหนึ่ง ที่ก่อให้เกิดความทุกข์ยากแก่ประชาชนอยู่ทุกฤดูกาล ได้แก่ภัยหนาว สำหนับประชาชนที่มีฐานะยากจน อาศัยอยู่บริเวณภูเขาและป่าไม้

               ๑.๒.๕ ประชารัฐ เพื่อสังคม
          จังหวัดมุกดาหาร ได้ดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลในการจัดตั้ง บริษัทรักสามัคคี จำกัด ขึ้น โดยมีเป้าหมายในการระดมทุนเพื่อทำกิจการ ประมาณ ๔ ล้านบาท โดยระดมทุนจากทุกภาพส่วน และได้กำหนดทิศทางในการดำเนินการโดยการทำการสำรวจ วิเคราะห์ศักยภาพของกลุ่มอาชีพ ตัวผลิตภัณฑ์ที่มีความเป็นไปได้ทางเศรษฐกิจ ผลิตภัณฑ์สำคัญได้แก้ ผ้าทอมือ ถั่วลิสง และการกิจกรรมการท่องเที่ยวโดยชุมชน


๒. วัตถุประสงค์ทั่วไป
     เพื่อพัฒนากลไกสนับสนุนเครือข่ายจิตอาสาประชารัฐในระดับจังหวัด เสริมสร้างสังคมสุขภาวะแบบและอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน
    วัตถุประสงค์เฉพาะ
               ๒.๑ เพื่อประสานเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของผู้มีจิตอาสาในจังหวัดมุกดาหาร
                ๒.๒ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงาน “ เครือข่ายจิตอาสาประชารัฐจังหวัดมุกดาหาร”
                ๒.๓ เพื่อสำรวจค้นหากลุ่มประชากรที่อยู่ในภาวะยากลำบากและกลุ่มเปราะบาง ในจังหวัดมุกดาหาร พร้อมให้การช่วยเหลือเบื้องต้นอย่างเหมาะสม
                ๒.๔ เพื่อจัดทำแผนที่ภูมิศาสตร์และระบบเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงต่อพิบัติภัยธรรมชาติที่สำคัญที่มีปัญหาซ้ำซากใน จังหวัดมุกดาหาร
                ๒.๕ เพื่อพัฒนาระบบและกลไก “กองทุนประชารัฐเพื่อสังคมของจังหวัด”

๓. เป้าหมาย
๓.๑ มีพลเมืองจิตอาสาในพื้นที่  ๗ อำเภอ จังหวัดมุกดาหาร
๓.๒ มีศูนย์จิตอาสาประชารัฐระดับจังหวัด ๑ ศูนย์
๓.๓ มีเครือข่ายจิตอาสาประชารัฐในระดับจังหวัด ไม่น้อยกว่า ๗ เครือข่าย
๓.๔ มีฐานข้อมูลประชาชนที่อยู่ในภาวะยากลำบากและกลุ่มเปราะบาง และได้รับการช่วยเหลือ
เบื้องต้นอย่างเหมาะสม ไม่น้อยกว่า ๑ ระบบ
๓.๕ มีแผนที่ภูมิศาสตร์พื้นที่เสี่ยงภัยซ้ำซากอย่างน้อย  ๗ พื้นที่ พร้อมระบบเฝ้าระวัง และ
แผนปฏิบัติการรับมือแก้ปัญหาแบบพึ่งตนเอง
๓.๖ มี “กองทุนประชารัฐเพื่อสังคม” ของจังหวัด ๑ กองทุน

๔. วิธีการดำเนินงาน  
๔.๑ ยกระดับ ศปจ.ทุกจังหวัดเป็นศูนย์ประสานงานเครือขายจิตอาสาประชารัฐจังหวัด
๔.๒ ถักทอเครือข่ายจิตอาสาประชารัฐครอบคลุมทุกอำเภอ
๔.๓ สำรวจและดูแลผู้ยากลำบากและกลุ่มเปราะบางในชุมชนทุกอำเภอทั้งจังหวัดและจัดทำแผนในการช่วยเหลือ
               ๔.๔ ทำแผนที่จุดเสี่ยงพิบัติภัยธรรมชาติระดับอำเภอและมีแผนเฝ้าระวัง
      ๔.๕ จัดตั้งกองทุนจิตอาสาประชารัฐจังหวัด เพื่อพึ่งตนเองในระยะยาว

หน้า2/4 
 
     ๔.๖ สรุปรายงานผลการดำเนินงาน



๕. แผนการดำเนินงาน  ๔ เดือน
   รายละเอียด
งบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐

มิถุนายน
กรกฎาคม
สิงหาคม
กันยายน
๑. ประชุมองค์กรภาคีที่ทำงานด้านจิตอาสา
 ๑.๑ จัดตั้ง “คกก.สนับสนุนเครือข่ายจิตอาสาประชารัฐเพื่อสังคมจังหวัด”
 ๑.๒ ประสานความร่วมมือท้องถิ่นในการสนับสนุน ศปจ.เป็น
”ศูนย์จิตอาสาประชารัฐเพื่อสังคมจังหวัด”

           /

           /



๒. ถักทอเครือข่ายจิตอาสาประชารัฐ
๒.๑ สำรวจฐานข้อมูลพลเมืองจิตอาสา
๒.๒ จัดกิจกรรมรณรงค์เพื่อค้นหาคนทำงานจิตอาสาในระดับอำเภอละจังหวัด
๒.๓ พัฒนาศักยภาพแกนนำระดับอำเภอ ๕-๑๐ ทีม



/
/

/


๓. สำรวจและดูแลผู้ยากลำบาก และการพัฒนาระบบเฝ้าระวังพิบัติภัยชุมชน
๓.๑ สำรวจและจัดทำข้อมูลผู้ยากลำบากในชุมชนและพื้นที่เสี่ยงต่อพิบัติ
๓.๒ จัดทำแผนปฏิบัติการและประสานความร่วมมือ


      /
     
      /

      /

๔. จัดตั้ง “กองทุนประชารัฐเพื่อสังคมจังหวัด


      /
        
๕. สรุปผลการดำเนินงานและรายงานผล



/

๖. พื้นที่ดำเนินการ      ๗  อำเภอ  จังหวัดมุกดาหาร

๗. ระยะเวลาดำเนินงาน   ๔ เดือน (วันที่ ๑๗ มิถุนายน – ๓๐ กันยายน  ๒๕๖๐)

๘. งบประมาณ    
          จำนวนเงิน ๑,๐๙๖,๗๐๐ บาท (หนึ่งล้านเก้าหมื่นหกพันเจ็ดร้อยบาทถ้วน)

๙. ผลที่คาดว่าจะได้รับ  
๙.๑ มีเครือข่ายพลเมืองจิตอาสาเข้ารวมปฏิบัติการเพื่อสังคมในพื้นที่ระดับอำเภอ
๙.๒ มี “กองทุนประชารัฐเพื่อสังคม” ของจังหวัด
๙.๓ ประชาชนผู้อยู่ในภาวะยากลำบากไม่น้อยกว่าร้อยละ ๕๐ ของผู้ยากลำบากในฐานข้อมูลที่
สำรวจ ได้รับการช่วยเหลือเบื้องต้นอย่างเหมาะสม
๙.๔ มีแผนปฏิบัติการรับมือแก้ปัญหาแบบพึ่งตนเองในพื้นที่เสี่ยงพิบัติภัยธรรมชาติซ้ำซาก

๑๐. ผู้รับผิดชอบ    
๑๐.๑  ชื่อองค์กรรับข้อตกลง :   หอการค้าจังหวัดมุกดาหาร
๑๐.๒  ชื่อผู้รับข้อตกลง :  นายสุริยะ  พิศิษฐอรรถการ
๑๐.๓  ศูนย์จิตอาสาประชารัฐเพื่อสังคมจังหวัดมุกดาหาร                    
          ๑๐.๔  ผู้ประสานงาน :  นายวิรัตน์  พรหมดี  โทรศัพท์ ๐๘๑-๓๙๑๒๘๔๕

๑๑. สถานที่ติดต่อ :      ศูนย์จิตอาสาประชารัฐเพื่อสังคมจังหวัดมุกดาหาร
                   ที่อยู่ วิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร เลขที่ ๑๙๙ บ้านบุ่งอุทัย หมู่ที่ ๑๐ ตำบลนาสีนวน อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร
                   ตู้ ปณ. ๓๓
                   Facebook. www.facebookcom/muknetwork

No comments:

Post a Comment

โครงการที่ได้รับอนุมัติ

โครงการพัฒนากลไกสนับสนุนเครือข่ายจิตอาสาประชารัฐจังหวัด เสริมสร้างสังคมสุขภาวะ พ.ศ. ๒๕๖๐ จังหวัดมุกดาหาร   ...